ประวัติ Sir Alex Ferguson


Sir Alex Ferguson
ประวัติโดยย่อ


เซอร์ อเล็กซานเดอร์ “อเล็กซ์” แชปแมน เฟอร์กูสัน (อังกฤษSir Alexander “Alex” Chapman Ferguson) เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2484(ค.ศ. 1941) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เคยเป็นผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มายาวนานที่สุด และนำทีมชนะเลิศรายการแข่งขันมาก ที่สุด ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของสโมสร
เฟอร์กูสันเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต่อจากรอน แอตกินสัน เมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) และพาทีมชนะเลิศเอฟเอคัพ เมื่อปีพ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เป็นรายการแรก และหลังจากนั้นก็ชนะเลิศอีก 4 สมัย (รวมเป็น 5 สมัย) รวมทั้งการชนะเลิศเอฟเอพรีเมียร์ลีก 13 สมัย และชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 สมัย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) หลังจากชนะเลิศรายการแชมเปียนส์ลีก (ต่อจากปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ในยุคของเซอร์แมตต์ บัสบีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง แห่งสหราชอาณาจักร ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็นอัศวินแห่งอังกฤษ นับเป็นชาวสกอตเพียงไม่กี่คน ที่ได้รับเกียรติอย่างสูงเช่นนี้ ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็มีแฟนบอลตุ๊ดๆบางตัว ได้ทำการเขียนประวัติลงใน wiki แบบผิดๆ ซึ่งแฟนแมนยูได้ทำการลบเพื่อความถูกต้องไปแล้ว เสียใจด้วยนะ ไอ้เป็ดโง่
ต่อมาในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) เซอร์อเล็กซ์ประกาศยุติการทำหน้าที่ผู้จัดการทีม หลังจบฤดูกาล 2012-13 โดยนัดสุดท้ายจะเป็นการแข่งขันพรีเมียร์ลีก นัดที่ไปเยือนเวสต์บรอมมิชอัลเบียน ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน หลังจากนั้น เขาจะขึ้นรับตำแหน่งผู้อำนวยการฟุตบอล และเป็นทูตประจำสโมสรเดิมต่อไป

เกียรติประวัติ

ผู้จัดการทีม

เซนต์มิร์เริน
อาเบอร์ดีน
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[5]

แหล่งอ้างอิง


http://th.wikipedia.org/wiki/อเล็กซ์_เฟอร์กูสัน












                         
สนาม  Old Trafford





โอลด์ แทรฟฟอร์ด (อังกฤษ: Old Trafford) เป็นสนามกีฬาในเขตแทรฟฟอร์ดของเกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ และเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1909 และเริ่มเปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910 ซึ่งใช้มาตลอดยกเว้นในช่วง 8 ปี ที่สนามโดนระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วง 1941-1949 [2]
โอลด์ แทรฟฟอร์ด ในปัจจุบัน เป็นสนามฟุตบอลซึ่งติดตั้งเก้าอี้หมดทุกพื้นที่ของสแตนด์ เป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอังกฤษ ในแง่ของจำนวนแฟนบอลที่รองรับได้ ซึ่งมากถึง 76,212 คนเป็นรองแค่สนามกีฬาเวมบลีย์เพียงแห่งเดียว และใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ใหญ่เป็นอันดับ 11 ของทวีปยุโรป นอกจากนั้นยังเป็น 1 ใน 2 สนามในอังกฤษที่ยูฟ่ารับรองเป็นสนาม 5 ดาว[ต้องการอ้างอิง]
ชื่อเรียกที่แฟนบอลคุ้นหูและเร้าอารมณ์ว่า "โรงละครแห่งความฝัน" นั้น คนแรกที่แรกที่เรียกชื่อนี้คือ เซอร์ บ็อบบี ชาร์ลตัน บุคคลระดับตำนานของสโมสรนั่นเอง
สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดนี้มักจะถูกใช้เป็นสนามในการแข่งขันเอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ และเป็นสนามหลักในการแข่งขันหลายอย่างในขณะที่สนามกีฬาเวมบลีย์อยู่ในระหว่างการปรับปรุง นอกจากนี้ยังได้เป็นสนามแข่งขันนัดสำคัญหลายอย่าง ไม่ว่า ฟุตบอลโลก 1966 หรือแชมเปียนส์ลีก 2003 และจะถูกใช้แข่งขันฟุตบอลในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพ

โครงสร้างและการใช้งาน[แก้]

  • สนามหญ้าเขียวขจีของ โอลด์ แทรฟฟอร์ด ล้อมรอบด้วยสแตนด์ที่นั่งล้วนมีหลังคามคุม 4 ด้าน ชื่อเรียกทางการคือ สแตนด์ทิศเหนือ, ทิศใต้, ทิศตะวันออก, ทิศตะวันตก สแตนด์แต่ละทิศมีอย่างน้อย 2 ชั้นยกเว้นทิศใต้ที่มีเพียงชั้นเดียว เนื่องมาจากข้อจำกัดในการก่อสร้าง
  • สแตนด์ทิศเหนือสมัยก่อนเรียกกันว่า "ยูไนเต็ด โร้ด สแตนด์" มีทั้งสิ้น 3 ชั้นรองรับแฟนบอลได้ทั้งสิ้นราว 26,000 ที่นั่ง มากที่สุดในบรรดาสแตนด์ทั้ง 4 ทิศและสแตนด์ทางทิศเหนือยังรองรับแฟนบอลได้มากกว่านั้นอีกนิดหน่อยเพราะมีบ็อกซ์พิเศษตั้งอยู่ สแตนด์ทิศเหนือเปิดใช้งานในรูปลักษณ์ที่เห็นในปัจจุบัน เมื่อปี 1996 โดยก่อนหน้านั้นมีเพียงชั้นเดียวเท่านั้น และด้วยการเป็นสแตนด์หลักของสนาม สแตนด์ทิศเหนือจึงเป็นที่ตั้งหลักของหลายต่อหลายจุดอันเป็นที่นิยม รวมไปถึงเร้ด ค่าเฟ่ (ร้านอาหาร/บาร์ ในธีมสีแดงของสโมสร) และพิพิธภัณฑ์แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กับห้องเก็บถ้วยรางวัลซึ่งเปิดในปี 1986 นับว่าเป็นที่แรกในโลกสำหรับการเปิดพิพิธภัณฑ์ลักษณะนี้ของสโมสรฟุตบอล คนที่เป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์คือ เปเล่ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 1998






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น